เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
เพื่อความดับ เพื่อความสลัดทิ้ง เพื่อความสงบระงับโกธะ ... อุปาหนะ ... มักขะ ...
ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ... มายา ... สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ
... อติมานะ ... มทะ ... ปมาทะ ... กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง... ความ
กระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อนทุกสถาน... ความเดือดร้อนทุกประการ
ไม่พอเพื่อความสงบ คือ เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อสงบเย็น เพื่อความดับ เพื่อความ
สลัดทิ้ง เพื่อความสงบระงับอกุสลาภิสังขารทุกประเภท1 รวมความว่า ผลแห่ง
วาทะนี้น้อยนัก ไม่พอเพื่อความสงบ

ว่าด้วยผลแห่งการวิวาท 2 อย่าง
คำว่า เรากล่าวผลแห่งการวิวาทเป็น 2 อย่าง อธิบายว่า ผลแห่งการ
ทะเลาะเพราะทิฏฐิ การบาดหมางเพราะทิฏฐิ การแก่งแย่งเพราะทิฏฐิ การวิวาท
เพราะทิฏฐิ การมุ่งร้ายเพราะทิฏฐิ มี 2 อย่าง คือ ชนะกับพ่ายแพ้ มีลาภกับ
เสื่อมลาภ มียศกับเสื่อมยศ นินทากับสรรเสริญ สุขกับทุกข์ โสมนัสกับโทมนัส
อารมณ์ที่พึงปรารถนากับไม่พึงปรารถนา ความชอบกับความชัง ความเฟื่องฟูกับ
ความแฟบฟุบ ความยินดีกับความยินร้าย
อีกนัยหนึ่ง เรากล่าว คือ พูด บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศว่า กรรมนั้นเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดเดรัจฉาน เป็นไป
เพื่อเปตวิสัย รวมความว่า เรากล่าวผลแห่งการวิวาทเป็น 2 อย่าง
คำว่า เห็นโทษแม้นี้แล้ว ในคำว่า บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว... ไม่พึงวิวาทกัน
อธิบายว่า เห็นแล้ว คือ แลเห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้ง
แล้วซึ่งโทษนี้ ในเพราะเหตุแห่งการทะเลาะกันด้วยอำนาจทิฏฐิ การบาดหมางกัน
ด้วยอำนาจทิฏฐิ การแก่งแย่งกันด้วยอำนาจทิฏฐิ การวิวาทกันด้วยอำนาจทิฏฐิ
การมุ่งร้ายกันด้วยอำนาจทิฏฐิ รวมความว่า เห็นโทษแม้นี้แล้ว

เชิงอรรถ :
1 ดูคำแปลจากข้อ 5/17

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :364 }